จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเตรียมอาหารและสิ่งของ ก่อนน้ำท่วม




ไปอ่านมา มีสิ่งดีจึงนำมาฝาก สำหรับการเตรียมอาหารก่อนน้ำท่วม

ลองอ่านดูแล้วนำไปทำตามหรือต่อยอดก็จะได้ประโยชน์เพิ่มอีก

**************************************

ตอนนี้เมืองไทยน้ำท่วมหลายแห่ง บ้านเราก็ท่วมเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ได้แต่หวังว่ามันคงไม่ท่วมถึงชั้นสองของบ้าน

ก่อน น้ำท่วมหลายคนที่จะปักหลักอยู่ในบ้านนอกจากเตรียมยา ไฟฉาย เทียน และของใช้อื่นๆที่จำเป็น (หากน้ำท่วมมากเข้าห้องน้ำไม่ได้คงต้องมีถุงพาสติกไว้มากๆ เพื่อใช้ใส่สิ่งที่ขับถ่ายออกมา มีไม่พอใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองรับ เสร็จแล้วใส่ถุงพาสติกรวมๆกันไว้ก่อนกันกลิ่นเหม็นแล้วค่อยไปโยนทิ้งทีหลัง)

ต้องเตรี ยมเสบียงอาหารให้เพียงพอสำหรับน้ำท่วมระยะยาว ถ้าไม่โดนตัดไฟ หรือแก๊สหมดซะก่อน คงพอจะหุงหาอาหารได้ นอกจากมาม่าและเครื่องกระป๋องต่างๆแล้ว ยังสามารถใช้ของเหล่านี้ได้

อาหารที่ไม่ต้องใช้การหุงหาให้ยุ่งยากยามฉุกเฉิน (ของเหล่านี้เก็บได้นานเป็นเดือนๆ) :-

- แผ่นปอเปียะเวียดนาม หรือแผ่นข้าวแคบทางเหนือ แบบนี้แช่น้ำหรือเอาแปรงจุ่มน้ำทาให้ทั่วๆ จะนิ่ม หั่นผักต่างๆใส่ ทานได้

- แผ่นปอเปี๊ยะสำหรับทำปอเปี๊ยะสด ลักษณะคล้ายแป้งห่อโรตีสายไหม (ปกติที่ขายจะแช่ในช่องฟรีซไว้ ถ้าเอาออกมาแล้วเปิดห่อใช้ไม่หมดแป้งอาจแข็งเพราะโดนลม แก้ไขโดยเอแผ่นแป้งทาน้ำให้ทั่วๆ มันจะนิ่มอีกจากประสบการณ์ที่เราทำนะ)
อันนี้ใช้ห่อผักเหมือนปอเปี๊ยะเวียดนาม ราดน้ำจิ้มก็ทานได้เลย ถ้ามีเวลาทำน้ำราดปอเปี๊ยะสดใส่ขวดเก็บไว้ได้ ไม่มีก็ใช้น้ำจิ้มไก่ย่างหรือน้ำจิ้มปอเปี๊ยะแทน

- น้ำจิ้มไก่ย่างหรือน้ำจิ้มปอเปี๊ยะสำเร็จรูป ไว้ราดปอเปี๊ยะ หรือซอสพริก ซอสมะเขือเทศ

- ข้าวสวยหุงสุกแล้วตากให้แห้ง เวลาจะทานเทน้ำแช่ข้าวตากสักพักใหญ่ข้าวจะบานออก อาจแฉะไปหน่อยแต่ดีกว่าไม่มีทาน หรือจะทอดเป็นข้าวตังแผ่นก็ได้ เก็บใส่ภาชนะที่ปิดสนิทกันลมเข้าเก็บได้นาน ถ้าไม่ทอดก็คั่วให้พองได้เช่นกัน

- เนื้อ ไก่ หมู หรือปลา แล่บางๆ ปรุงรสด้วยเกลือ ซอส หรือน้ำตาล ตากให้แห้ง แล้วทอดหรือย่างจนสุก ใส่กล่องเก็บได้นาน

- ผักต่างๆ ล้างสะอาด พักให้สะเด็ดน้ำจนแห้ง ให้ผักสลดพอเหี่ยวนิดหน่อย หั่นชิ้นพอดี ใส่ขวด ผสมน้ำส้มสายชู น้ำตาล น้ำปลาหรือเกลือ ปรุงรสตามชอบ เทลงไป ดองไว้ แบบนี้ดองสามรส ถ้าจะดองเค็มใส่แค่เกลือ และน้ำซาวข้าว ไว้ทานแทนผักสดยามน้ำท่วม

- เมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่ว งา ผักกาด หัวไชเท้าฯลฯ เอาแช่น้ำไว้สักคืน แล้วเทน้ำทิ้ง หาฝาปิด หรือวางบนผ้าชุบน้ำพอหมาด ทิชชู กระดาษ และคลุมปิดไว้เพื่อให้ชื้น มันจะงอก เป็นถั่วงอก งางอก ผักกาดงอก ฯลฯ ได้ผักสดทาน

- ไข่ต้มให้สุก ใส่ขวดโหล ต้มน้ำกับเกลือพอให้เค็ม พักเย็นแล้วเทใส่ขวดไข่ดองไว้จะเก็บได้นานกว่า ไข่ต้มธรรมดา

- กุ้งแห้ง ปลาชิงชัง ปลากรอบ ปลาหมึกรสต่างๆ เหมือนที่เค้าขายตรงตลาดหนองมนและอื่นๆนั่นแหละ พอใช้ทานกับข้าวได้

- พริกป่น น้ำปลา มะขามเปียก น้ำส้มสายชู เอาไว้ทำน้ำจิ้ม หรือคลุกข้าวกินได้

- ทำน้ำพริกต่างๆผัด แล้วใส่ขวดเก็บไว้ได้นาน ซื้อสำเร็จรูปก็ได้

- ขนมปังแผ่น ตากแห้งไว้ หรือจะปิ้งแล้วตากลมให้แห้งก่อนเก็บ พวกนี้ จะเก็บได้นานกว่าขนมปังสด

- ข้าวเม่า แบบที่เค้าใช้ทำข้าวเม่าคลุก เวลาใช้แค่พรมน้ำใหัทั่วๆปิดฝาไว้สักพักก็นิ่ม ปกติทานเป็นของหวาน ยามฉุกเฉินทานเป็นข้าวได้

- มะพร้าวแก่ กะเทาะเปลือกออกหั่นชิ้นหนาตามชอบตากแห้งไว้ ใช้เคี้ยวทานแก้หิวได้ ยามอาหารอื่นๆหมดแล้ว

- กากหมูหรือหนังหมูทอดกรอบ เอาไว้จิ้มน้ำพริกหรือคลุกข้าว หรือใส่ก๋วยเตี๋ยว ได้

- ผัก สดบางชนิดเช่น ต้นหอม ผักชี คึ่นช่าย ใบบัวบก

เอาส่วนโคนต้นที่มีรากจิ้มใส่กระถางดินเล็กๆ ยกไว้บนบ้านวางตรงใกล้หน้าต่างที่แดดส่องถึง หรือระเบียงนอกบ้าน เวลาใช้ตัดแต่ส่วนที่เป็นใบใช้ให้เหลือโคนต้นไว้มันจะได้งอกออกมาใหม่ได้อีก

ตะไคร้ วางใส่แก้วเติมน้ำไว้ จะเก็บได้นาน บางทีมีรากงอกและแตกกิ่งใหม่ด้วย หรือจะฝังดินไว้ก็ได้
กระเพรา โหระพา สะระแหน่ เอากิ่งปักดินในกระถางไว้


- เส้นหมี่ เส้นเล็ก สปาเกตตี้ ลวกหรือต้มสุก และเส้นขนมจีน ตากให้แห้ง เวลาใช้แช่น้ำให้มันคืนตัว (ดูตัวอย่างภาพด้านล่างๆได้)

- แป้ง ข้าวเหนียว ผสมน้ำ แล้วปั้นเป็นก้อนกดแบนๆบางๆต้มหรือนึ่งสุก ตากแดดหรือลมให้แห้ง หรือทำแบบขนมเข่ง สุกแล้วหั่นบางๆตากให้แห้ง เก็บไว้ เวลาจะทาน แช่น้ำให้นิ่มก่อน

- หัวไชโป๊วหวาน หรือ ผักดองอื่นๆที่เค้าชั่งเป็นกิโลขาย เวลาใช้ล้างน้ำสะอาดก่อนทาน

- ทำผักตากแห้งไว้ โดยล้างผักให้สะอาดผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ต้มน้ำใส่เกลือลงไปพอเค็ม นำผักลงไปลวกแค่พอสลด เอาออกพักให้สะเด็ดน้ำแล้วตากแดดหรือลมให้แห้ง หากไม่ผสมเกลือในน้ำ ให้เอาผักลวกพอสลด เอาออกพักให้สะเด็ดน้ำ แล้วโรยเกลือที่ผักคลุกให้ทั่ว นำไปตากให้แห้ง เก็บใส่ภาชนะไว้ได้นาน เวลาใช้ถ้าเค็มมากล้างน้ำเพื่อลดความเค็มได้

สำหรับคนที่มีเตาแก๊สหรือเตาไฟฟ้าเตาหุงหาอาหารได้ (ตอนน้ำท่วม)

- แป้งทำแพนเค้ก หรือวาฟเฟิลสำเร็จรูป หรือแป้งสาลี ผงฟู น้ำตาล ใช้น้ำมันพืชแทนเนยได้ ไข่ไม่มีก็ไม่ต้องใส่ เวลาจะใช้เทน้ำผสมลงไปแทนนม ทำแพนเค้กโดยใช้กระทะเทฟล่อน
นอกจากนี้แป้งสาลียังใช้ทำเส้นบะหมี่ แผ่นเกี๊ยว โรตีหรือ tortilla ได้

- แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว แป้งมันสำปะหลัง เอาไว้ทำเส้นก๋วยเตี๋ยว แป้งทอด หรือผสมน้ำนึ่งใช้สุก หั่นเป็นชิ้นทานแทนข้าวได้ นอกจากนี้ทำเป็นอาหารอื่นๆได้อีกมากมาย

- เมล็ดสาคู ลูกเดือย ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ใช้ต้มปรุงรสทานเป็นซุปได้ หรือทานแทนข้าวได้

- เนื้อสัตว์หั่นเป็นชิ้นหมักใส่เกลือ ใส่ขวดไว้ ถ้าชอบเปรี้ยว ผสมกระเทียมและข้าวสุกลงไปด้วย เก็บได้โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น เอามาทอดทานกับข้าวได้ หรือใช้แทนเนื้อสัตว์สดได้

- เผือก มัน และพืชหัวต่างๆ พวกนี้จะเก็บได้นาน ยามจำเป็นต้มกินแทนข้าวได้

อาหาร ที่เราทำบ่อยคือขูดมันฝรั่งเป็นเส้น เทน้ำมันใส่กระทะนิดหน่อย ตั้งไฟปานกลาง ใส่มันฝรั่งลงไป แผ่ให้กระจายทั่วกระทะ พอเหลืองก็กลับด้าน รอจนสุก ตักออกทานกับซอสมะเขือเทศ
ถ้าใครใช้มันเทศ ให้ผสมแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งสาลีลงไปนิดหน่อยกะให้มันเกลือกทั่วมัน เติมน้ำนิดหน่อยพอแฉะ แล้วจึงเทใส่กระทะ ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะมันเทศไม่มียางเหนียวเหมือนมันฝรั่งจึงใช้แป้งช่วย เป็นตัวประสาน

- ถ้าบ้านยังน้ำไม่ท่วม ทำอาหารไว้มากๆ พักให้เย็นแล้วใส่กล่องพาสติกหรือถุงแช่ช่องฟรีซไว้ ผักสดลวกพอสุกแล้วแช่แข็งไว้เช่นกัน

- เส้นเล็กแห้ง เส้นหมี่ วุ้นเส้น เส้นปาเกตตี้ มักโรนี ของแห้งเหล่านี้เอาไว้ทานแทนข้าวได้

-ไข่ ทำเป็นไข่เค็มไว้ แต่ถ้าไม่ชอบไข่เค็ม ให้แช่ในน้ำเกลือเจือจาง แค่พอเค็มนิดหน่อย ไข่แบบนี้เก็บได้นานหลายเดือน และไม่เปลี่ยนเป็นไข่เค็ม เอามาใช้เหมือนไข่ปกติได้ ที่รู้เพราะเราเคยทำไข่เค็มแต่ใส่เกลือนิดเดียวมันเลยไม่เป็นไข่เค็ม เก็บไว้นานครึ่งปีก็คงสภาพเดิม

เอาไว้คิดออกอีกจะเอามาลงเพิ่มเติมแทรกต่อข้างบนนี้เรื่อยๆ

ที่มา

http://rueanthai2.lefora.com/2011/10/24/20111024041624/

วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คาถาและวิธีการใส่แหวนหลวงปู่ดู่ (แหวนจักรพรรดิ์)

สำหรับท่านใดที่มีแหวนของหลวงปู่ดู่ บางท่านเรียกว่า แหวนจักรพรรดิ์ หรือแหวนวัดสะแก มีวิธีใส่แหวนและคาถาตามนี้

คาถาและวิธีการใส่แหวนหลวงปู่ดู่”


คาถาและวิธีการใส่แหวนหลวงปู่ดู่”

1.นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ3จบ
2.กล่าวคำอาราธนาพระ
พุทธัง อาราธนัง กะโรมิ
ธัมมัง อาราธนัง กะโรมิ
สังฆัง อาราธนัง กะโรมิ

3.เวลาสวมแหวนให้สวมหมุนขวา(ของตัวเรา)
ว่าคาถาดังนี้
หมุนครั้งที่ 1 พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
หมุนครั้งที่ 2 ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
หมุนครั้งที่ 3 สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

เสร็จแล้วพนมมือน้อมใจระลึกถึง
คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ให้ท่านช่วยปกป้องรักษา
จะอธิษฐานอย่างไรที่ถูกที่ควรจงตั้งใจอธิษฐานเอาเถิด

4.เสร็จแล้วกล่าวว่า
พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ

5.ถ้า เป็นแหวนรูปพระ ให้ใส่แหวนโดยให้เศียรพระเข้าหาตัวเรา หมายถึงเวลาที่ผู้ใส่ชูกำปั้นออกไปตรงๆผู้อื่นจะเห็นรูปองค์พระที่แหวนแบบ ปรกติไม่กลับหัว

ให้ใส่แหวนที่มือขวาก่อน เริ่มที่นิ้วชี้ กลาง นาง ก้อย (สังเกต จะไม่มีโป้ง)
แต่ถ้าหาแหวนที่ขนาดพอเหมาะสำหรับนิ้วในมือขวาไม่ได้เลย ก็ให้เริ่มแบบเดียวกันที่นิ้วในมือซ้าย
ตามลำดับ ชี้ กลาง นาง ก้อย เช่นกัน

หลวงน้าสายหยุดสอนว่า
ให้ซื้อพวงมาลัย เอาพระทั้งหมดนี้ไปวางหน้ารูปหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ที่กุฎิเดิมของท่าน
เสร็จแล้วให้เอาดอกไม้ไหว้ขอขมาท่าน
บอกหลวงปู่ดู่ท่านว่า พวกลูกทั้งหลายขอกราบขอขมาหลวงปู่
ขอหลวงปู่โปรดแผ่เมตตาลงมาปลุกเสกพระทั้งหมดนี้ให้ลูกหลานได้เอาไปบูชาด้วย
ขอให้พระทุกองค์นี้มีหลวงปู่ดู่อยู่ในองค์พระทุกองค์” หลวงน้าเน้นอีกว่า“สำคัญที่สุดนะ อย่าลืมขอให้หลวงปู่ดู่อยู่ในองค์พระทุกองค์ด้วยเสร็จแล้วก็วางไว้10นาที ค่อยเอากลับได้


ที่มา

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=doraeme&month=23-05-2009&group=12&gblog=1

วิชาแต่งองค์ที่ หลวงปู่ดู่ท่านได้เมตตา สั่งสอน

นำวิชาดีๆ มาฝากสำหรับท่านที่ต้องการได้สิ่งดีแก่ตัวเอง
มาศึกษากันได้เลยครับ
******************************

เป็น วิชาแต่งองค์ที่ หลวงปู่ดู่ท่านได้เมตตา สั่งสอน เพราะเป็นวิชาที่จะทำให้เข้าถึงกระแสแห่งคุณพระรัตนตรัยและ ปฏิบัติธรรมได้ไว....ท่านใดที่อยากทำความดีเพื่อตัวของท่านเอง และ เข้าถึงสภาวะแห่งธรรมได้โดยง่าย รบกวนลองปฏิบ้ติดู แต่ว่าต้อง ทำจริงๆแล้ว ท่านจะเห็นเอง ว่าธรรมแท้จริงเป็นอย่างไร

.......................................................................
วิชาแต่งองค์หลวงปู่ดู่
ล้างหน้าตอนเช้า ให้บริกรรมว่า
"พุทธังล้างหน้า ธัมมังล้างทุกข์"
สังฆังเพิ่มสุข สวัสดีมีชัย

(เพื่อเพิ่มสง่าราศรีแก่ตัวเอง)
------------------------------
อาบน้ำ แปรงฟัน ให้บริกรรมว่า
"พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ"
ธัมมง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(ระลึกถึงพระ ขณะอาบน้ำ+แปรงฟัน)
-------------------------------
สวมกางเกง ให้บริกรรมว่า
"อาปามะจุปะ"

-------------------------------
เวลาใส่เสื้อ ให้บริกรรมว่า
"ทิมะสังอังขุ"
พุทธัง อิมัง องคะพันธะนัง อธิษฐามิ
ธัมมัง อิมัง องคะพันธะนัง อธิษฐามิ
สังฆัง อิมัง องคะพันธะนัง อธิษฐามิ

(อธิษฐาน ให้เกิดความคุ้มครองป้องกันภัย)
-------------------------------
เวลาคาดเข็มขัด ให้บริกรรมว่า
"พุทธัง อิมัง กายะพันธะนัง อธิษฐามิ"
ธัมมัง อิมัง กายะพันธะนัง อธิษฐามิ
สังฆัง อิมัง กายะพันธะนัง อธิษฐามิ
***ในกรณีที่เราไม่ใส่เข็มขัดให้ กำหนดจิต ที่มือแล้วนึกภาพและทำมือเหมือนว่าสวมใส่เข็มขัดอยู่***

(อธิษฐาน ให้เกิดความคุ้มครองป้องกันภัย)
---------------------------------
เวลาใส่สร้อยพระ ให้บริกรรมว่า
"อิมัง องคะพันธะนัง อธิษฐามิ กะระมะทะ กิริมิทิ กุรุมุทุ เกเรเมเท"
*** ถ้าไม่มีสร้อยพระก็ให้ทำการ กำหนดจิต แล้วนึกมโนภาพเช่นเดียวกัน***

---------------------------------
วิธีคาดมงคล 3 สาย
-สาย ที่ 1
ให้เอาหัวแม่มือทั้งสองข้าง จรดที่ หน้าผากแล้วลากอ้อมมาบรรจบกันที่ท้ายทอย และจากท้ายทอยอ้อมมาจรดหน้าผาก แล้วบริกรรมว่า "พุทธะสัง มังคะลัง โล
เก"
-สาย ที่ 2
ให้ลากจากหน้าผากลากเส้นผ่านลงมาที่หน้าอกแล้วอ้อมหันแม่มือมาบรรจบกันที่ กลางหลังจากกลางหลังมาบรรจบกันที่หน้าอก แล้วบรกรรมว่า "ธัมมะสัง มังคะลัง โลเก"

-สายที่ 3
ให้ลากจากหน้าอกมาถึงสะดือแล้วอ้อม ไปบรรจบกันที่กระเบนเหน็บ(หมายถึงสีข้าง)แล้วลากมาบรรจบกันที่สะดือ ให้บริกรรมว่า "สังฆะสัง มังคะลัง โลเก"


---------------------------------
วิธีการสวมมงกุฏพระพุทธเจ้า
-ให้เอาหัวแม่มือจรดหน้าผากลากอ้อมมาบรรจบกันที่ด้านหลังศรีษะแล้วอ้อมไปบรรจบกันที่หน้าผาก ให้บริกรรมว่า

"อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ"
อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสพุทธะปิติอิ

---------------------------------
ก่อน ออกจากบ้านให้กลั้นหายใจหยิบดิน (นิดเดียว)มาใส่หัว(บางท่านไม่มีเนื้อที่ๆเป็นดิน(ใช้ดินจากกระถางต้นไม้ก็ได้)ก็ให้ กำหนดมโนภาพเอาเช่นเดียวกันแต่ท่านต้องระลึกถึงพระรัตนตรัยตลอด) แล้วบริกรรมว่า
"นางแม่ธรณีเจ้าเอ๋ยอยู่แล้วหรือยัง อยู่ สังขาตังโลกัง วิทู"

-------------------------------------------
ก่อน ก้าวเท้าออกจากบ้านให้ยืนเอาเท้าชิดกัน มือประสานข้างหน้า แล้วกำหนดดูลมหายใจ ว่ารูจมูกข้างไหน ลมเดินสะดวกที่สุด ให้ก้าวเท้านั้น ออกไปก่อน แล้วบริกรรมว่า
"อิติปิโส ภะคะวา ยาตรา ยามดี พระอาทิตย์เป็นศรี สวัสดีลาโภ นะโมพุทธายะ"(ถ้าเราจะออกเดินทางวันไหนก็ให้เปลี่ยนไปตามวันนั้นๆ)

-----------------------------------
ก่อนนอนกราบพระ 6 ครั้ง ที่หมอน
1.พุทธัง วันทามิ
2.ธัมมัง วันทามิ
3.สังฆัง วันทามิ
4.อุปัชฌาย์อาจาริยะ คุณัง วันทามิ
5.มาตาปิตุ คุณัง วันทามิ
6.พระไตรสิกขา คุณัง วันทามิ

**แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า**
ด้วย อำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ขอให้บังเกิดเป็นพระเมตตา พระมหาเสน่ห์ พระมหาลาภ พระมหาอุด อยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด อุปัทวะอันตราย หายตัวได้

**แล้วบริกรรมว่า**
"สิทธะมัตถุ สิทธะมัตถุ สิทธะมัตถุ"
อิทังพะลัง เอตัสมิง ระตะนะตะยัสมิง
สัมปะสาทะนะ เจตะโสพุทธัง อธิษฐามิ
ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ
-ขอ ให้สรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย สรรพเคราะห์ เสนียดจัญไร สูญสลายหายไป ด้วย พุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ นะเคลื่อน โมถอน พุทคลอน ธาสูญหาย ยะละลาย หายด้วยนะโมพุทธายะ ภะวะตุสัพพะมังคะลัง รักขันตุสัพพะเทวะตา สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทาโสตถีภะวันตุเม

-พุ ทธังกำลังกล้า ธัมมังกำลังแกร่ง สังฆังกำลังแรง ด้วยฤทธิ์แห่งพระกำลัง ขออัญเชิญพระปัจเจกมาช่วยเสกกับพระอรหันต์ ให้เป็นวิมานแก้วล้อมรอบครอบตัวพัวพัน คอยป้องกันภยันตราย

**หลังจากนั้นให้บังสกุลตายเพื่อป้องกันการกระทำคุณไสยจาก--**
ผู้อื่นขณะนอนหลับ แล้ว ภาวนาไครสรณคมณ์จนกว่าจะหลับ
ตื่นเช้าก็บังสกุลเป็น

**บังสุกุลตาย**
"อนิจจาวะตะสังขารา อุปปา"
ทะวะยะธัมมิโน อุปปัชชิตะวา
นิรุธฌันติ เตสัง วูปะสะโมสุโข

**บังสกุลเป็น**
"อจีรัง วะตะยังกา โยปะฐะวิง"
อธิเสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ
นิรัตถังวะ กะลิงคะรัง

**ไตรสรณคมณ์ คือ ให้บริกรรม พุทโธ**

ที่มา

http://board.palungjit.com/

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การฝากกระแส...ความฉลาดใน อธิษฐานบารมี ตอนที่ ตอนจบ

การฝากกระแส...ความฉลาดใน อธิษฐานบารมี ตอนที่ ตอนจบ




ปกิณกะเทคนิคการฝากกระแส



1. การฝากตนเองเป็นลูก หรือลูกศิษย์แก่ พระฯหรือ เทพ-พรหม หรือครูบาอาจารย์นับถือ
2. การฝากกระแสสร้างบารมีต่อผู้มีกำลังท่านอื่นๆ (ที่บางสายเรียกว่าการแบ่งภาค)
3. การฝากกระแสไว้กับวัด พระพุทธรูป พระเครื่อง
4. การฝากกระแสไว้กับธาตุ เส้นเกษา หรือพระธาตุ
5. การฝากกระแสไว้ที่พระนิพพาน
6. การฝากกระแสไว้ที่ดุสิต
7. การฝากกระแสไว้เพื่อค้ำเมือง
8. การฝากกระแสไว้กับอักขระ คาถา
9. การฝากระแสไว้ในอากาศ หรือวิญญานธาตุ หรือองค์สัญญา
10. การฝากกระแสเพื่อการจุติใหม่โดยไม่ผ่านภูมิสวรรค์ หรือพรหมโลก (ตายแล้วเข้าท้องเลย)
11. การฝากกระแสไว้ที่อาทิสมานะกาย หรือเจตภูติ หรือเทพผู้ที่มีศักดา เพื่อการทำหน้าที่แทน อย่างการรับบน ตลอดจนเพื่อเป็นกำลังกั้นตัวเองมิให้ตกอบาย หรือกลับมาสอนสรรพวิชาให้แก่ตนเอง
12. การฝากกระแสไว้ที่สรรพว่านยาของพระฤาษี
13. การฝากกระแสไว้ที่ธาตุวัตถุที่ประกอบไปด้วยความเชื่อ เช่น เหล็กไหล ดวงแก้ว
14. การประทับรอยพระพุทธบาท การอธิษฐานประธาตุ
15. การฝากกระแสไว้เพื่อสร้างบารมียามหลับ หรือทุกขณะเวลาทั้งยามหลับยามตื่น ยามรู้ตัว ยามมิรู้ตัว
16. การฝากกระแสเพื่อปรนนิบัติ และเรียนรู้สรรพวิชาจากครูบาอาจารย์ แม้มิมีโอกาสได้อยู่ไกล้ครูบาอาจารย์ก็เหมือนอยู่ไกล้ เพราะไม่ว่าท่านจะสอนใครเราก็รับรู้ ได้ยิน หรือสามารถเข้าใจได้โดยง่าย เมื่อมีคนมาเล่าให้ฟัง (มุขหากินผมล่ะ อย่างนี้โบราณท่านเรียกครูพักลักจำครับ)
17. อื่นๆ

จากที่อธิบายมาข้างต้นนั้น หากผู้เข้าใจในเรื่องของกระแส-เรื่องของพลังงานได้ระดับหนึ่งแล้ว ได้อ่านปกิณกะเทคนิคการฝากกระแสตามตัวอย่างข้างต้น ก็คงพอจะทดลองทำ หรือพัฒนาให้ปลีกย่อยพิสดารยิ่งๆขึ้นไปได้

อนึ่งหากยังไม่เข้าใจประเด็นใดหรืออยากทราบเทคนิควิธีพิเศษเพื่อการทดลองทำ ดูนั้นก็ให้ถามมาได้เพื่ออธิบายเป็นประเด็นจุดๆไปอย่างละเอียดอีกทีครับ

อันวิชาของพระฯ วิชาของหลวงปู่นั้นมีมากมายกว่า 108 ประการขอเพียงมีจิตเปิดกว้างรับสิ่งใหม่ๆ หมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ที่สำคัญให้หาเป้าหมาย หาที่ลงให้เจอเพื่อมิให้หลงทาง(พระนิพพาน) การปฏิบัติของท่านก็จะก้าวหน้าลึกซึ่งยิ่งขึ้นเรื่อยๆไป จนเมื่อถึงจุดลงก็จะพบกับความสามัญอีกครั้งหนึ่ง




ขอโมทนาบุญกับคุณโด่ง ยุทธภูมิ เจ้าของบทความจ้า

การฝากกระแส...ความฉลาดใน อธิษฐานบารมี ตอนที่ 2

การฝากกระแส...ความฉลาดใน อธิษฐานบารมี ตอนที่ 2


วิธีการฝากกระแส



1. อาศัยการสร้างรูปธรรม
เช่น การสร้างรูปเคารพของครูบาอาจารย์ การสร้างหรือการอธิษฐานจิตประจุในพระเครื่องพระบูชาเพื่อฝากระแสไว้กับพระฯ เพื่อหวังเอาผลบุญกับทุกดวงจิตที่เลื่อมใสหรือเข้ามากราบไหว้ร่วมบุญกับ รูปธรรมธาตุที่ตนได้สร้างเอาไว้ รวมไปถึงการสร้างวัดหรือโบสถ์วิหาร ทุกครั้งที่มีผู้เจริญในธรรมมาอาศัยโบสถ์วิหารนั้นสร้างกุศล ผู้สร้างจึงได้ผลบุญด้วย ด้วยเหตุนี้ผลแห่งวิหารทานจึงมากกว่าสังฆทานมากมายนัก เช่นเดียวกับการสร้างหนังสือธรรมมะ เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม พ้นจากความทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน เหตุนี้ "สรรพทานัง ธรรมะทานัง ชินาติ" การให้ธรรมมะเป็นทานจึงชนะการให้(วัตถุทาน)ทั้งปวง เป็นต้น


2. อาศัยกำลังจิตจับกับนามธรรมหรือรูปธรรม อย่าง การนึกถึงหลวงปู่ดู่ การอธิษฐานฝากตัวเป็นลูกหรือ ฝากตัวเป็นศิษย์ ขอให้ท่านดูแลไปตลอดจนกว่าจะนิพพาน เพื่อการไม่คลาดจากท่าน หรือการไม่คลาดจากความดีแบบท่าน ให้ทุกๆชาติได้มีสัมมาทิฐิ หรือย่างสมัยที่มีการทำศึกสงครามอย่างตอนที่ทำการปลุกทัพทำพิธีก่อนออกศึก นั้น ทุกดวงจิตของทหารจะจดจ่ออยู่ที่แม่ทัพนายกองหรือกษัตริย์ ครั้นเมื่อตายลงแล้วเกิดใหม่ จิตที่ปักอยู่ก็จะทำให้ตนเองเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าตนคือกษัตริย์พระองค์นั้น กลับชาติมาเกิด แต่ข้อดีก็คือ ท่านผู้นั้นจะมีกำลังมาก(ผลจากอนุโมทนา)และทำอะไรได้คล้ายต้นพลังงาน ซึ่งก็จะเป็นการเร่งรัดบารมีได้แบบหนึ่งครับ

3. การอนุโมทนา เป็น การเอาจิตเลื่อมใสในคุณความดีของผู้อื่น (อนุแปลว่าตาม โมทนาแปลว่ายินดี) กระแสพลังงานบุญ-คุณความดีจะเข้าสู่ผู้อนุโมทนาหากทรงกำลังใจบริสุทธิ์ ผ่องแผ้วจะทำให้ได้ผลบุญนั้นเฉกเช่นผู้กระทำก่อน ถึง 90 ส่วนโดยประมาณ

แต่หากสักแต่ว่ากล่าวอนุโมทนาไป โดยจิตไม่ได้เลื่อมใสศรัทธาในบุญนั้นอย่างแท้จริง ก็จะได้อานิสงส์เพียง 5-10 ส่วนขึ้น ไปโดยประมาณ ด้วยเป็นกำลังผลของการขจัดอัตตา และผลของฌานสมาบัติ(ผู้ทรงพรหมวิหาร ย่อมทรงฌานสมาบัติด้วย เนื่องเพราะอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวกันหรือไกล้เคียงกันนั่นเอง) และผลจากการทำจิตน้อมในกุศล ผลของกุศลนั้นจึงได้น้อมเข้าใส่ตัวนั่นเอง.....


4. การฝากกำลัง(กระแส) เกิดขึ้นได้ทั้งสองทาง คือ
ผู้มีกำลังมาก ฝากกระแสให้ผู้มีกำลังน้อย อย่าง หลวงปู่ทวดฝากกระแสให้กับสาวกหรือพระโพธิสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับท่าน ทำให้การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หรือสาวกท่านนั้นมีกำลังที่จะสร้างสรรค์ อะไรต่อมิอะไรได้มาก แต่หากดูกระแสได้ไม่ลึกพอ จะเข้าใจคลาดได้ว่า ตนคือเจ้าของกระแสที่ฝากมาจริงๆ อย่างกรณีที่มีคนเข้าใจว่าตนคือพระนเรศวร หรือพระศรีย์อาริย์มากมายนั่นเอง

เพื่อการติดตามไม่คลาดจากคุณธรรมของผู้มีกำลังมากกว่า ผลก็คือ เมื่อต้นกระแสทำกุศลเช่นใด ตนเองก็ได้ผลเช่นนั้นด้วย แต่จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายตัวด้วยกัน

5. การเสริมกำลังหรือการร่วมกำลัง คล้าย กับข้อที่ 4 ต่างกันที่จุดประสงค์ กล่าวคือ มักจะทำในผู้ที่มีกำลังมากให้แก่ผู้ที่มีกำลังเสมอกันหรือกำลังน้อยกว่า เพื่อให้ท่านเหล่านั้นทำงานได้คล่องขึ้นหรือเกิดผลงานได้มากขึ้น เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันของพระโพธิสัตว์ ที่ช่วยให้พระโพธิสัตว์ต่างๆด้วยกัน ทำงานได้มากขึ้น หรือมีบารมีเต็มเร็วมากขึ้น....อย่างเช่น เมื่อเห็นพระโพธิสัตว์ท่านใดทำงานอยู่ อย่างการสร้างวัด เราก็อธิษฐานรวมบารมีของทั้งพระฯ และของตนเองอธิษฐานครอบเป็นวิมานแก้วบารมี 10 ทัศให้แก่ท่านนั้น แล้วท่านนั้นก็จะทำงานต่างๆได้ลุล่วงเร็วขึ้น-มากขึ้น ผู้ฝากเองก็ได้กระแสบุญในการนั้นด้วย

มองดูคล้ายอนุโมทนาใช่ไหมครับ แต่ตรงนี้ก้าวไปอีกขั้นของอนุโมทนา ตรงนี้ก็คือการทำเมตตาและกรุณาให้บังเกิดขึ้นด้วยกำลังจิต(พรหมวิหาร 4 ใช้งานในองค์ฌานสมาบัติ)นั่นเอง....

ประโยชน์หรือผลที่ได้จากการฝากกระแส

1. บารมีเต็มเร็วขึ้น ไม่คลาดจากกุศล
2. โอกาสในการตกอบายภูมิน้อยลงหรือไม่มี
3. เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า หรือพระนิพพานได้โดยง่าย
4. ทำให้ดวงจิตอยู่ในความดีตลอดเวลา
5. งานเพื่อพระศาสนาสามารถสำเร็จลุล่วงได้โดยง่ายหรือเกิดกำลังมากขึ้น

ข้อเสียของการฝากกระแสไม่ถูกทาง
1. หากฝากกระแสผิดทางอาจทำให้หลงอบาย อย่างกรณีผู้ติดตามท่านฮิตเลอร์ ก็เป็นเหตุให้เเล่นไปตามท่านฮิตเลอร์ เป็นต้น

2. การเข้าสู่พระนิพพานอาจช้าลง ในกรณี ของผู้ติดตามโดยแท้(ไม่ละไปตามผู้อื่น)ของพระโพธิสัตว์ผู้ทำบารมีอันยาวนาน แทนที่ท่านนั้นจะได้ไปพระนิพพานเป็นเวลาอันช้านานล่วงมาแล้ว ก็คงต้องรอจนกว่าพระโพธิสัตว์ท่านนั้นจะถึงเวลาลงมาตรัส จึงจะยอมเข้าพระนิพพานโดยสมัครใจ....ซึ่งมูลเหตุนี้เองพระโพธิสัตว์ใหญ่บาง ท่านจึงได้ถวายพระโพธิญานเป็นพุทธบูชา ลาพุทธภูมิ เพื่อผลต่างๆ มากมายที่จะตามมา....ซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ครับ


ที่มา
http://www.watthummuangna.com/home/community/index.php/topic,1035.0.html

การฝากกระแส...ความฉลาดใน อธิษฐานบารมี ตอนที่ 1

การฝากกระแส...ความฉลาดใน อธิษฐานบารมี ตอนที่ 1


ขออนุโมทนาบุญกับ คุณยุทธภูมิ หรือพี่โด่ง

ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์บทความนี้ (ผ่านการสอบถามจากเจ้าตัวแล้วจ้า)



คำเตือน : โปรดใช้โยนิโสมนสิการ ปัญญาบารมี และหลักกาลามสูตร อย่างยิ่งยวดในการรับฟังครับ

ในบรรดาหลักวิชาบารมี ที่นับว่าช่วยย่นย่อการสร้างบารมีให้เต็มบริบูรณ์ได้ดีมากตัวหนึ่ง หากไม่นับปัญญาบารมีแล้ว ก็คงจะหนีไม่พ้น อธิษฐานบารมี ความ หมายของอธิษฐานบารมีนั้นแปลว่า ตั้งตนไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ ซึ่งหมายถึงเมื่อเราค้นพบว่าสิ่งใดอันเป็นสิ่งสูงสุดที่เราพึงปรารถนาก็ให้ ทำจิตให้ตรงต่อสิ่งนั้น เช่น ฝ่ายสาวกภูมิ สิ่งที่พึงปราถนาสูงสุดคือพระนิพพาน ก็ให้อธิษฐานรวมกำลังบุญบารมีทุกอย่างให้เป็นกำลังที่จะตรงต่อพระนิพพาน ในส่วนของพุทธภูมินั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือพระนิพพานเช่นเดียวกัน แต่ต่างกันในประเด็นที่ว่า จุดมุ่งหมายสูงสุดนอกจากพระนิพพานแล้ว ยังคงมุ่งหวัง ปรารถนาที่จะอภิเษกสัมมาสัมโพธิญานตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งปราถนาที่จะทำงานรื้อขนสรรพสัตว์เข้าสู่พระนิพพาน ไม่ยินดีที่จะเข้าสู่พระนิพพานโดยลำพัง

การอธิษฐานบารมีนั้นสำคัญมาก ดวงจิตใดที่ฉลาดในการอธิษฐานบารมีจะสามารถย่นย่อเวลาในการก้าวย่างเข้าสู่พระนิพพานได้นับเป็นพันชาติ หรือมากกว่านั้น ทั้ง นี้ไม่ว่าจะเป็นในสายพุทธภูมิ หรือสายสาวกภูมิก็ตาม ดังตัวอย่างเมื่อครั้งหนึ่งที่หลวงพ่อพระราชพรหมญานท่านได้กล่าวกับคณะศิษย์ ว่า ด้วยเพราะตั้งความปราถนาว่าจะนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้า แทนที่จะกล่าวว่าขอนิพพพานในชาตินี้ ทำให้ต้องคั่งค้างเวียนว่ายตายเกิดอีกนับเป็นพันๆชาติ(ท่านผู้ใดหาบทความดัง กล่าวได้แจ้งด้วยนะครับ ผมค้นหาอีกครั้งไม่เจอจริงๆครับ น่าจะเป็นตอนที่หลวงพ่อไปที่เขื่อนยันฮีนะ ตอนที่กล่าวถึงการถอดสร้อยเครื่องประดับถวายพระฯน่ะครับ) ทั้งที่บารมีนั้นเต็มพร้อมที่จะบรรลุความเป็นพระอริยเจ้าได้ ขาดแต่การอธิษฐานทำใจให้ตรงเท่านั้น....

คราวนี้จะมาเล่า เรียบเรียง เกี่ยวกับเรื่องของ "การฝากกระแส " ให้ได้อ่านกันนะครับ

คำว่า "กระแส" นั้นแปลออกมาได้หลายอย่างด้วยกัน อย่างที่หลวงตาม้าท่านบอกว่า คำว่ากระแสคำเดียว หมายถึง ตัวขับเคลื่อนพลังงาน ดังนั้นหากผู้ใดพอจะเข้าใจเรื่องพลังงาน และเรื่องรูป-นามมาบ้างแล้ว คงพอจะเข้าใจได้ไม่ยาก คำว่ากระแสจึงหมายถึง " คลื่นพลังงานของดวงจิต "

ดังนั้นการฝากกระแสจึงหมายถึง การ กำหนดฝากคลื่นพลังงานของจิตของเราเอาไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ว่าจะเป็น รูปธรรมหรือนามธรรม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์มากมายในภายภาคหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการไม่คลาดเคลื่อนจากความดีคือสัมมาทิฐิ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการได้รับกระแสบุญตลอดเวลากับสิ่งที่เราฝากกระแสเอาไว้ หรืออื่นๆ

องค์ประกอบของการฝากกระแส

1. ต้นกระแส ก็ได้แก่ผู้มีกำลังมาก หรือผู้ที่เรานับถือทั้งหลาย เช่น พระโพธิสัตย์ เทพ-พรหม หรือแม้แต่รูปธรรมที่ไม่มีชีวิต เช่น พระพุทธรูป วัด เจดีย์ พระพุทธบาท

2. ผู้อธิษฐาน ก็คือตัวเรานั่นเอง จะต้องมีกำลังจิตของสมาธิตั้งแต่ขณิกสมาธิเป็นต้นไป ยิ่งใช้กำลังของสมบัติ 8 ด้วยแล้วยิ่งมีกำลังมาก เหมือนการอธิษฐานปกติของเราใช้กำลังอุปจารสมาธิ กว่าจะฝากกระแสได้แนบแน่น ก็อาจจะใช้การอธิษฐานหลายครั้ง แต่หากฉลาดในการอธิษฐานฝากกระแส ก็จะใช้กำลังของสมาบัติเป็นบาทฐาน ถอยหลังมาที่อุปจารสมาธิ หรือทรงฌาน 4-8 แบบใช้งาน แล้วทำการอธิษฐานกระแส กระแสก็จะแนบแน่นยิ่งกว่า การอธิษฐานครั้งเดียวก็มีผล อย่างการอธิษฐานฝากกระแสไว้ที่พระนิพพาน เพื่อที่เวลาสิ้นชีพแล้วกระบวนการทางจิตและกรรมจะมีผลโน้มนำให้ตรงต่อพระ นิพพานนั่นเอง ถ้าใช้กำลังของสมาธิอย่างต่ำ หรือถ้าทำไม่เป็นอาจิณกรรมพอ ก็อาจจะคลาดได้หากมีกรรมอื่นๆที่หนักกว่ามาริดรอน

3. กระแสหรือวิธีการฝากกระแส แยกได้เป็น
กระแสตนเองล้วน
กระแสตนเองบวกกับกระแสครูบาอาจารย์ อย่างนี้กำลังจะมากกว่า นี่คือที่มาของบทสัพเพ หรือการกล่าวอ้างคุณพระรัตนตรัยทุกครั้งที่มีการอธิษฐาน และนี่คือเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมผู้เข้าถึงพระไตรสรรคมณ์แล้ว จึงปิดทางนรกภูมิได้ เว้นแต่ได้กระทำอานันตนิริยกรรมมาก่อนหน้านี้ และเป็นเหตุผลว่าทำไมอารมณ์พระโสดาบันจึงต้องละวิกิกิจฉา คือการลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย....



ขอโมทนาบุญกับคุณยุทธภูมิ หรือพี่โด่ง ผู้ใจดีของเราจ้า

ที่มา http://www.watthummuangna.com/home/community/index.php/topic,1035.0.html