จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560

วิธีดูแลตับให้สุขภาพดี 2

#วิธีดูแลตับให้สุขภาพดี  2

เลือดจะไหลผ่านจากหลอดเลือดใหญ่ไปสู่หลอดเลือดเล็กจนน้ำเลือดสัมผัสกับเซลล์ของตับ

มีการแลกเปลี่ยน สารอาหารขนาดเล็กๆที่ดูดซึมมาจากกระเพาะอาหารและลำไส้

นอกจากนี้ยังรับของเสียที่มากับเลือด เข้าสู่ตับ

ตับ ยิ่งรู้จักยิ่งรักเธอ

Fanpage ศูนย์สุขภาพดี ตับและเบาหวาน
LINE ID 089 745 8432

วิชาพระรัตนตรัยโอสถ

วิชาพระรัตนตรัยโอสถให้ท่านๆได้นำไปฝึกกันนะครับ นำมาจากวิชาของสมเด็จพระสังฆราช สุก(ไก่เถื่อน)


วิชารักษาโรคในกายด้วยอำนาจแห่งพระรัตนตรัยโอสถ เป็นโลกุตรโอสถหรือโอสถทิพย์
น้อมจิตบูชาพระรัตนตรัยแล้วบริกรรมตามลำดับ
หายใจเข้าลึกๆ / อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา ทรงความศักดิสิทธิ์สุงสุดเร้นลับยิ่งใหญ่
หายใจออกยาวๆ / เป็นโอสถทิพย์อำนาจวิเศษศักดิ์สิทธิ์ สถิต บำรุง รักษา อุปถัมภ์ค้ำชูชีวิตข้า ให้หายโรคสิ้นโรค แข็งแรง อายุยืน เรืองทรัพย์เกษมสุข
ให้บริกรรมกลับไปกลับมาหลายๆครั้งจนจิตสงบ แน่วแน่ เย็นสบาย เกิดปิติแล้วเปลี่ยน
-----------------
หายใจเข้าลึกๆ /สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ทรงความศักดิสิทธิ์สุงสุดเร้นลับยิ่งใหญ่
หายใจออกยาวๆ / เป็นโอสถทิพย์อำนาจวิเศษศักดิ์สิทธิ์ สถิต บำรุง รักษา อุปถัมภ์ค้ำชูชีวิตข้า ให้หายโรคสิ้นโรค แข็งแรง อายุยืน เรืองทรัพย์เกษมสุข
ให้บริกรรมกลับไปกลับมาหลายๆครั้งจนจิตสงบ แน่วแน่ เย็นสบาย เกิดปิติแล้วเปลี่ยน
-----------------
หายใจเข้าลึกๆ /สุปะฏิปันโน ภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ ทรงความศักดิสิทธิ์สุงสุดเร้นลับยิ่งใหญ่
หายใจออกยาวๆ / เป็นโอสถทิพย์อำนาจวิเศษศักดิ์สิทธิ์ สถิต บำรุง รักษา อุปถัมภ์ค้ำชูชีวิตข้า ให้หายโรคสิ้นโรค แข็งแรง อายุยืน เรืองทรัพย์เกษมสุข
ให้บริกรรมกลับไปกลับมาหลายๆครั้งจนจิตสงบ แน่วแน่ เย็นสบาย เกิดปิติแล้วเปลี่ยน
-----------------
หายใจเข้าลึกๆ /มาตาปิโร พรัหมโมเทโว พระสะยามะเทวาธิราโช โกมาระภัจโจ นะโมพุทธายะ ทรงความศักดิสิทธิ์สุงสุดเร้นลับยิ่งใหญ่
หายใจออกยาวๆ / เป็นโอสถทิพย์อำนาจวิเศษศักดิ์สิทธิ์ สถิต บำรุง รักษา อุปถัมภ์ค้ำชูชีวิตข้า ให้หายโรคสิ้นโรค แข็งแรง อายุยืน เรืองทรัพย์เกษมสุข
ให้บริกรรมกลับไปกลับมาหลายๆครั้งจนจิตสงบ แน่วแน่ เย็นสบาย เกิดปิติแล้วเปลี่ยน
-----------------
หากมีสตินึกขึ้นได้ให้บริกรรมกลับไปกลับมาไปเรื่อยๆตลอดวัน (เว้นเวลาที่ต้องใช้สมองสติและจิตไปทำงานที่เป็นภารกิจ) ยิ่งดี อารมณ์เครียดจากเรื่องต่างๆซึ่งเป็น
ต้นเหตุของโรคหลายอย่าง ก็จะไม่เกิด ยังช่วยให้โรคหลายอย่างในกายค่อยๆหายไปได้ ร่างกายก็จะพลอยมีสุขภาพดี ชีวิตก็จะอยู่เย็นเป็นสุขไปอีกนาน
หนึ่งในวิชาของสมเด็จพระสังฆราช สุก(ไก่เถื่อน)
--------------------------------
วิธีการสร้างบุญบารมี ที่สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ )ทรงพระนิพนธ์ไว้ ( เวอร์ชั่นพ่อมดโลจิสรุปใจความสำคัญ...ซึ่งเวอร์ชั่นเดิมนั้นมีเนื้อหาสาระ ที่ละเอียดกว่านี้...ซึ่งผมจะได้เขียนเพิ่มเติมทีหลังอีกทีครับ )
สร้างอักขรธรรมหนึ่งอักษร เท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์( ศาสนวงศ์ ฉบับพระปัญญาสามี 2405 )

โอวาทสมเด็จพระพุทธาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงขอยืมมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนล้นตัว เมื่อทำบุญได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะเอาอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วฟ้าดินจะช่วยเจ้าเอง จงจำไว้นะเมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้ ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างเลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า

วิธีการสร้างบุญบารมี ที่สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ )ทรงพระนิพนธ์ไว้
บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ กุศลธรรม

บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายอันสูงยิ่ง

วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 ขั้นตอน คือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้นเป็นการสร้างบุญที่ได้บุญน้อยที่สุดไม่ว่าจะ ทำมามากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญไปมากกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลแม้จะมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนา ไปได้ ฉะนั้นการเจริญภาวนาจึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดได้มากที่สุด แต่ไม่ใช่ว่าจะละทิ้งการให้ทานกับการรักษาศีลแล้วมานั่งเจริญภาวนาอย่าง เดียวนั้นก็มิได้ จึงต้องกระทำไปพร้อมทาน ศีล ภาวนา

องค์ประกอบ 3 ข้อของการให้ทาน
1.วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์ คือ ต้องเป็นของที่ตนแสวงหามาได้ด้วยการประกอบอาชีพสุจริตไม่ใช่ได้มาเพราะการ เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน เช่น ได้มาโดยทุจริต ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ เป็นต้น

2. เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์ คือ เจตนาในการให้ทานถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน 3 ระยะคือ
- ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัสร่าเริง เบิกนดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน
- ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเองก็ทำด้วยจิตโสมนัส ร่าเริง ยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น
- ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิต
โสมนัสร่าเริง เบิกบานยินดีในทานนั้นๆ

3.เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์
คำว่าเนื้อนานบุญ ในที่นี้ได้แก่ บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั่นเอง เนื้อนาบุญที่ประเสริฐคือผู้ที่บวชเพื่อมุ่งหนีสงสารวัฏ โดยมุ่งจะทำมรรคผลนิพพานให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไป การทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน การทำทานแก่มนุษย์ผู้ไร้ศีล การทำทานแก่ผู้ที่มีศีลห้า การทำทานแก่ผู้ที่มีศีลแปด การถวายทานแก่สามเณรผู้มีศีลสิบ การถวายทานแก่พระสมติสงฆ์ การถวายทานแก่พระโสดาบัน การถวายทานแก่พระสกิทาคามี การถวายทานแก่พระอนาคามี การถวายทานแก่พระอรหันต์ การถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า การถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การถวายทานที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน การถวายวิหารทาน การให้ธรรมทานและการให้อภัยทาน

การให้อภัยทานคือาการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่คิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งเป็นทานที่ให้บุญกุศลสูงมากที่สุดในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ ละโทสะกิเลส และเป็นการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรม อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร 4..ผู้ทรงพรหมวิหาร 4 ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาณ แต่ถึงแม้การให้อภัยทานจะชนะการให้ทั้งปวง ผลบุญนั้นก็ยังน้อยกว่า ฝ่ายศีล เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นกัน

การรักษาศีล
ศีล นั้นแปลว่า ปกติ คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227และในบรรดาศีลชนิดเดียวกันยังแบ่งออกเป็นหลายระดับ ระดับธรรมดา ระดับกลาง ระดับสูง

การรักษาศีลเป็นความเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ทั้งในการถือศีลเองก็ยังได้บุญมากน้อยต่างกันไปตามลำดับดังนี้ การถือศีล 5 การถือศีล 8 การบวชเป็นสามเณรรักษาศีล 10 การอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีปาฏิโมกขสังวร 227 ข้อ

ในฝ่ายศีลแล้ว การได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นเนกขัมมบารมีในบารมี 10 ทัศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูงๆ คือ การภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพานต่อๆไป แต่ศีลนี้แม้จะมาอานิสงส์มากเพียงไร ก็ยังเป็นแต่การบำเพ็ญบุญบารมีในขั้นกลางเท่านั้น เพราะเป็นเพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตนั้นศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้
ดังนั้นการรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่าการภาวนา เพราะการภาวนาเป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางลงหรือจนหมดกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน สังสารวัฏ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า มหัคคตกรรม อันเป็นมหัคคตกุศล

การภาวนา
การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้นมี 2 อย่างคือ สมถภาวนา (การทำสมาธิ )วิปัสนาภาวนา (การเจริญปัญญา )

สมถภาวนา
สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิหรือเป็นฌาณ คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนานั้นมีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ 40 ประการเรียกกันว่า กรรมฐาน40ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ อดีตชาติเมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆและการเจริญภาวนาก็จะก้าว หน้าเร็วและง่ายยิ่งขึ้น แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตามจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลครบ ถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อนจึงจะทำจิตให้เป็นฌาณได้ หากศีลยังไม่มั่นคงย่อมเจริญฌาณให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นกำลังให้เกิดสมาธิขึ้น

การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุดเพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยระวังสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆโดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เท่านั้น อย่างไรก็ดีการเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้นแม้จะได้อานิสงส์มากมายมหาศาล อย่างไร ก็ยังมิใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา แต่เป็นการเจริญวิปัสสนาหรือการเจริญปัญญา จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนาซึ่งถือเป็นแก่นแท้

วิปัสสนาภาวนา
วิปัสสนาภาวนา คือการที่จิตคิดใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้นมีเพียงอย่างเดียวคือ ขันธ์ 5 ซึ่งนิยมเรียกว่า รูป-นาม โดยรูปมี 1 ส่วน และนามมี 4ส่วนคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเพียง อุปทานขันธ์เพราะแท้ที่จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจาก การปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชาหรือความไม่รู้เท่าสภาวธรรมจึงเกิดการยึดมั่นด้วยอำนาจอุปทาน ว่าเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็เพื่อให้จิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า สภาวธรรมทั้งหลายล้วนแต่มีอาการเป็นไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขังอนัตตา

อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปแล้วเกิดของใหม่ขึ้นมาแทนที่อยู่ตลอดเวลา) ทุกขัง (สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เมื่อเป็นเด็กแล้วจะเป็นเด็กเช่นนั้นต่อไปก็หาไม่ ก็ต้องเป็นหนุ่มสาวและเป็นคนแก่เฒ่าไปและตายลงในที่สุด)อนัตตา(ความไม่ใช่ ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ เป็นเพียงแค่ธาตุทั้ง 4 มาประชุมกันเพียงชั่วคราว เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปแล้วแตกสลายกลับคืนสู่สภาพเดิม ส่วนที่เป็นดินก็กลับสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับสู่น้ำ ส่วนที่เป็นลมก็กลับสู่ลม ส่วนที่เป็นไฟก็กลับสู่ไฟ ไม่มีอะไรให้เรายึดเป็นที่พึ่งอันถาวรได้ )

ทั้งสมาธิและวิปัสสนาเป็นเหตุผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย การเจริญวิปัสสนาจึงจำเป็นที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน แต่ตราบใดที่ยังไปไม่ถึงฝั่งนิพพานก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้ง ทาน ศีล ภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนานั้นลงทุนน้อยที่สุดแต่ได้กำไรมากที่สุด ก็เลยทำวิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลย เมือ่เกิดมาชาติหน้าเพราะเหตุที่ยังไปไม่ถึงนิพพาน ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็จะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน

การเจริญสมถะและวิปัสนาอย่างง่ายๆในชีวิตประจำวัน นั่ง ยืน เดิน นอน ทำบ่อยๆทำให้มากๆจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น คือ คิดใคร่ครวญถึงความเป็นจริง 4 ประการ
1.มีจิตใคร่ครวญถึง มรณัสสติกรรมฐาน คือการใคร่ครวญความตายเป็นอารมณ์ ความตายเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีสิ่งใดเอาชนะได้ ให้นึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มีการเจริญเติบโต มีการแก่เฒ่าและตายไปในที่สุด ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต เพราะเมื่อนึกถึงความตายแล้วก็จะเร่งกระทำความดีและบุญกุศล

2.มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน หรือสิ่งไม่สวยงามเช่น ซากศพ คือ มีจิตพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงว่า ร่างกายของคนและสัตว์อันเป็นที่นิยมรักใคร่เสน่หา ปละเป็นบ่อเกิดของตัณหาราคะ กามกิเลส ว่าเป็นของสวยงามเป็นที่เจริญตาและใจ แท้ที่จริงแล้ว เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกขัง คือ ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไมได้ วันเวลาย่อมพรากความสวยสดงดงามให้ค่อยๆจากไปจนเข้าสู่วัยชราผิวหนังเหี่ยว ย่นไปตามกาลเวลาและในที่สุดก็ตาย น้ำเหลืองขึ้น ขึ้นอืด มีกลิ่นเหม็นเป็นที่น่ารังเกียจของหมู่ชนทั้งหลายและในที่สุดก็สูญสลายกลาย เป็นปุ๋ย สังขารของเราก็เป็นเช่นนี้ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย

3..มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มีอานิสงส์มากเพราะสามารถทำให้ละ สักกายทิฐิ อันเป็นสังโยชน์ข้อต้นได้โดยง่ายและเป็นกรรมฐานที่พิจารณาร่างกายให้เห็นตาม สภาพความเป็นจริง มักจะพิจารณาร่วมกับอสุภกรรมฐานและมรณัสสติกรรมฐาน ซึ่งพระอริยะเจ้าทุกๆพระองค์ที่จะบรรลุพระอรหัตผลได้ จะต้องผ่านการพิจารณากรรมฐานทั้งสามกองนี้เสมอ เพราะบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นความโลภ โกรธ หลง ต่างๆก็เกิดขึ้นที่กายนี้เพราะการยึดมั่นด้วยอำนาจอุปทานว่าเป็นตัวตนและของ ตน การพิจารณาก็คือ พิจารราใคร่ครวญให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงที่ว่า อันร่างกายของคนและสัตว์ที่น่ารักใคร่สวยงามนั้น แท้ที่จริงก็เป็นของปฏิกูล สกปรกโสโครก ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่ารักใคร่ทะนุถนอม เป็นแหล่งรวมของสกปรกต่างๆ มีสารพัดขี้ ขี้หู ขี้ตา ขี้มูก ขี้ไคล ขี้ฟัน สิ่งเหล่านี้เมื่อขับถ่ายออกมาจากร่างกายแล้วไม่มีใครอยากเป็นเจ้าของ

แม้แต่สังขารร่างกายของคนเราเมื่อได้แยกแยะพิจารณาไปแล้ว ก็เห็นความเป็นจริงที่ว่าเป็นที่ประชุมรวมกันของอวัยวะชิ้นต่างๆที่เป็นหู ตา จมูก ปาก ลิ้น เนื้อ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำใส้ หนัง พังผืด เส้นเอ็น เส้นเลือด น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำตา น้ำปัสวะ ฯลฯ เรียกว่าอาการ 32 เมื่อแยกหรือควักออกมาดูทีละชิ้น จะไม่มีชิ้นใดที่เรียกกันว่าสวยงาม น่ารักน่าพิสวาสเลย กลับเป็นของที่น่ารังเกียจ ไม่สวยงาม ไม่น่าดู เพียงแต่สิ่งเหล่านี้ถูกปกปิดห่อหุ้มด้วยหนังถ้าหากไม่มีหนังหุ้มแล้วก็ไม่ เห็นว่าจะสวยงามตรงไหนดูๆไปก็อกสั่นขวัญแขวนถึงขั้นจับไข้ไปเลยก็มี

เมื่อได้รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวมากๆเข้า ก็จะมีอำนาจในการทำลายกิเลสและเกิดการเบื่อหน่ายในร่างกายของตนเองและผู้ อื่น จึงเป็นการง่ายที่ นิพพิทาญาณ จะเกิดขึ้นและเมื่อได้เกิดขึ้นแล้ว จนมีญาณทัสสนะเห็นแจ้งอาการพระไตรลักษณ์ ซึ่งจะนำไปสู่อารมณ์อันวางเฉยไม่ยินดียินร้ายในร่างกาย คลายกำหนัดในรูปนามขันธ์เรียกว่าจิตปล่อยวาง ซึ่งจะนำไปสู่การละสักกายะทิฐิ

4.มีจิตใครครวญถึงธาตุกรรมฐาน คือ นอกจากจะมีจิตใคร่ครวญถึงความเป็นจริงของร่างกายดังกล่าวมาแล้ว จึงควรพิจารณาแยกให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า อันร่างกายของเราก็ดีของผู้อื่นก็ดี เป็นเพียงแค่ ธาตุ 4 อันประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มาประชุมรวมกัน และสิ่งเหล่านี้ก็ทนอยู่ในสภาพที่รวมกันเช่นนั้นไม่ได้ นานไปก็เก่าแก่แล้วแตกสลายตายไป ธาตุดินก็กลับสู่ความเป็นดิน ธาตุน้ำก็กลับสู่ความเป็นน้ำ ธาตุลมก็กลับสู่ความเป็นลม ธาตุไฟก็กลับสู่ความเป็นไฟตามเดิม แร่ธาตุต่างๆนั้นก็เนื่องมาจากพลังงานโปรตรอนและอิเล็กตรอนเท่านั้น หาใช่ตัวตนของเราไม่เมื่อตายไปแล้วก็ยังเอาติดตัวไปด้วยไม่ได้ ดังนั้นการสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยะทรัพย์อันประเสริฐ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในภพหน้าชาติหน้าย่อมจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า