จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

การใช้แก้วจักรพรรดิ์ -การเลือกสถานที่จะทำการปรับภพภูมิแต่งเมือง

การเลือกสถานที่จะทำการปรับภพภูมิแต่งเมือง

หลักการในการคัดเลือกสถานที่ ที่จะอธิษฐานประดิษฐานดวงแก้วพระจักรพรรดิชุดนี้ไว้ก็คือ

1. เป็นสถานที่ยากแก่การเข้าถึง เป็นสถานที่ห่างไกล เช่นตามเทือกเขา ลำเนาไพร ป่าลึก ยอดภู ยอดเขา ท้องทะเลลึก ลำธาร แม่น้ำ เถื่อนถ้ำ เพื่อเป็นการโปรดภพภูมิต่างๆ สรรพสัตว์ สรรพวิญญานต่างๆในที่ห่างไกล

2. เป็นสถานที่พลุกพร่านไปด้วยคน ด้วยวิญญานต่างๆ ที่รอการสงเคราะห์ เพื่อการแต่งวิญญาน แต่งคน แต่งเมือง ให้สมดุลกัน ให้กระแสต่างๆดีขึ้น เช่นตามห้างสรรพสินค้า ตลาดสด โรงอาหาร ป่าช้า โรงพยาบาล ค่ายทหาร โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศาลากลางจังหวัด สถานที่ราชการที่สำคัญต่างๆ

3. เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสถานที่สำคัญต่างๆ เพื่อเป็นการเสริมกำลังแก่ภพภูมิระดับชั้นหัวหน้า เพื่อให้ภพภูมินี้คอยปกปักษ์รักษาหรือทำตามหน้าที่ของตนได้อย่าง คล่องตัว มีกำลัง เช่น ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เมืองเก่า เมืองโบราณ ศาลพระพรหม ศาลพระภูมิ วัด วัดร้าง รอยพระหัตถ์ รอยพระพุทธบาท รอยประทับนั่ง รอยวางไม้เท้า รอยวางบาท อนุสาวรีย์

4. บรรจุในองค์พระ เช่น ที่ "หัวใจพระ" พระเศียร ใต้ฐานพระที่หล่อแล้ว หรือบรรจุในกรุ ในเจดีย์ เพื่อเพิ่มกำลังแก่พระ และเป็นสื่อกระแสถึงผู้มากราบไหว้พระหรือเจดีย์นั้น

5. ประดิษฐานไว้ที่รถ เพื่อเป็นกองบุญเคลื่อนที่ โดยเฉพาะรถประจำทาง หรือรถของผู้ที่ทำงาน ที่ต้องใช้รถเดินทางอยู่เสม่ำเสมอ เช่น ผู้แทนยา พนักงานขายประกัน


โดยควรนำไปไว้ในสถานที่ ที่อันควรด้วย และเป็นสถานที่คนจะไม่ไปรบกวน หรือคนจะไปหาเจอ แล้วนำไปกระทำการปรามาสโดยไม่เจตนา เช่นหากจะประดิษฐานไว้ที่ยอดเขาก็ควรฝากโคนไม้ใหญ่ฝังดินฝากแม่พระธรณีเอาไว้ นำไปประดิษฐานในสระ หรือบ่อ-อ่างเก็บน้ำ ก็ควรนำไปไว้ที่กลางสระน้ำ

การไปไว้ที่ห้างหรือร้านตลาดก็ควรนำไปไว้ที่ศาลตามห้างหรือร้านตลาด อาจจะมอบให้แก่พ่อค้าแม่ค้าที่เข้าถึงธรรม เข้าใจและศรัทธาในหลวงปู่ดู่-หลวงตาม้า


คือให้มองหารูปนามอันควรแก่สิ่งอันควรยิ่งนี้ด้วย

เพราะตามปกติแล้วการสร้างดวงแก้วนี้ถึงรูปลักษณ์จะเป็นดวงแก้ว แต่ภายในดวงแก้วท่านจะอธิษฐานพระอยู่ภายในด้วยเสมอ ก็ลองตรองพิจารณาดูละกันครับ ว่าเราจะนำพระ ไปประดิษฐานไว้ในที่อันควรแห่งใด.


อย่างไรเมื่ออธิษฐานประดิษฐานดวงแก้วไว้ในที่ใดก็อย่าลืมขอขมาพระรัตนตรัยด้วยบทขอขมาพระรัตนตรัยที่มีอยู่หลายบทที่นิยมกัน เช่น


สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต

ขอพระองค์ได้อดโทษทั้งปวง แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด


อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง

ข้าพระพุทธเจ้า ขอวโรกาส ที่ได้พลั้งพลาดด้วยกาย วาจา ใจ


สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต

ขอพระองค์ได้อดโทษทั้งปวง แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด


อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

ข้าพระพุทธเจ้า ขอวโรกาส ขอขมาโทษทั้งปวง ต่อคุณพระพุทธเจ้าด้วยเถิด

"หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธ เจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม และ พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยทางกาย หรือวาจาก็ดี และด้วยเจตนา หรือไม่เจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษ ให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ด้วยเทอญ ..."

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น